โรงเรียนวัดสระเกศเปิดทำการสอนมานานแล้ว โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นที่ทำการสอน แต่ไม่ได้ทำบันทึกในสมุดจดหมายเหตุรายวันครั้งแรกเมื่อ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๑ จึงยึดหลักฐานนี้เป็นวันเริ่มต้นของ | ||
พ.ศ. ๒๔๔๑ | เปิดทำการสอนอยู่ที่ศาลาการเปรียญโดยมีพระถันเป็นครูใหญ่คนแรกหมายเหตุ ต่อไปนี้ รายชื่อผู้บริหารโรงเรียนที่อ้างถึง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๕๐๗ ดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่ | |
พ.ศ. ๒๔๔๑ | เปิดทำการสอนอยู่ที่ศาลาการเปรียญโดยมีพระถันเป็นครูใหญ่คนแรก | |
๑๙ พ.ย. ๒๔๔๒ | พระหรุ่น | |
๑ มี.ค. ๒๔๔๓ | นายวัล สกุณกาศ (รองอำมาตย์เอกหลวงเจรไพเราะ) | |
๙ มิ.ย. ๒๔๔๕ | นายทองสุข อินทรรัศมี (พระจรูญ ชวนะพันธุ์) | |
๓๐ เม.ย. ๒๔๔๖ | นายจรูญ | |
๒๙ มิ.ย. ๒๔๔๗ | นายปลื้ม รัตนกสิกร (หลวงอำนาจ ศิลปสิทธิ์) | |
๒๐ มิ.ย. ๒๔๕๐ | นายบูรณ์ | |
๔ ม.ค. ๒๔๕๑ | นายปุ่น | |
๒๔ พ.ค. ๒๔๕๒ | นายภักดิ์ กสิรัตน์ (หลวงสารวิชาเชาว์) | |
๕ พ.ค. ๒๔๕๓ | นายเฟื่อง บิณฑะเกตริน (ขุนประสงค์ อักษรการ) – สร้างอาคารเรือนหลังแรกเรียก “เรือนหลังเล็ก“ หรือ “เรือนหลังเตี้ย“ |
|
หมายเหตุ | ไม่มีการบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างเรือนหลังเตี้ยนี้ไว้ แต่พอสันนิษฐานได้ว่า ได้สร้างขึ้นในช่วงนี้ | |
|
||
|
||
พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๕๕ | นายแป้น ครูน้อยในโรงเรียนรักษาการแทนหน้าที่ครูใหญ่ นายเปล่ง ได้จัดแยกชั้นเรียนจากประถมปีที่ ๑ กับประถมปีที่ ๒ (เดิมเรียนรวม) |
|
พ.ศ. ๒๔๕๖ | – ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมปีที่ ๕ – จัดตั้งชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๘ แต่มีได้อยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งต้อง เลิกไป เพราะมีอุปสรรคหลายด้าน |
|
พ.ศ. ๒๔๕๗ | – ยุบชั้นประถมปีที่ ๔ และ ๕ เหลือเพียงประถมปีที่ ๑-๓ โดยเก็บค่าเล่าเรียน เพียงปีละ ๑๐ บาท – เลิกทำการสอนที่ศาลาการเปรียญ มาทำการสอนแต่เฉพาะที่อาคารหลังเตี้ยเท่านั้น |
|
|
||
๓ มิ.ย. ๒๔๕๗ | – พระถึก ถาวรกัณต์ (ขุนวิชาเศรษฐ) ได้ขยายประถมปีที่ ๔ ถึงปีที่ ๕ ขึ้นใหม่ | |
พ.ศ. ๒๔๕๘ | – ยุบชั้นประถมปีที่ ๔ และ ๕ เพื่อจัดตั้งมัธยมปีที่ ๑ ขึ้นแทนโดยเก็บค่าเล่าเรียนเท่าเดิม – เรียกชื่อโรงเรียนนี้ว่า “โรงเรียนมัธยมอนุกรมทยาคาร“ |
|
พ.ศ. ๒๔๕๙ | – เปิดอาคารเรียนใหม่ชื่อ “เรือนศรียาภัย“ เมื่อ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙โดย พระยาธรรมศักดิ์มนตรี (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) ได้เชิญ เจ้าพระยาพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (มรรคทายกวัดสระเกศ) เป็นประธานในพิธีเปิด อาคารนี้ นางสาวชื่น ศรียาภัย เป็นผู้บริจาคเงินสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑๔,๒๕๕ บาท – ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนนักธรรมของวัดสระเกศ |
|
พ.ศ. ๒๔๕๙ – ๒๔๖๐ | ได้เพิ่มมัธยมปีที่ ๒ และ ๓ ตามลำดับปีละชั้นแต่ยังเก็บค่าเล่าเรียนราคาเดิม (๑๐ บาท) | |
๒๐ พ.ย. ๒๔๖๕ | ขุนพร้อมพิทยาคุณ (ล้วน จันทนผะลิน – หลวงพร้อมพิทยาคุณ) ได้เปลี่ยนระเบียบการเก็บค่าเล่าเรียนใหม่ คือ – ประถมปีที่ ๑ และ ๒ เก็บปีละ ๑๐ บาท – ประถมปีที่ ๓ ถึงมัธยมปีที่ ๓ เก็บปีละ ๒๐ บาท |
|
๓ ก.ค. ๒๔๗๐ | – ขุนชำนิอนุสาสน์ (เส่ง เลาหจินดา) | |
พ.ศ. ๒๔๗๕ | – นางพวง สุวรรณกิจชำนาญ ได้บริจาคเงินสร้างเรือนอีกหลังหนึ่งให้ชื่อว่า “เรือนพงษ์พวงอุทิศ“ด้วยจำนวนเงิน ๔,๕๒๑.๘๕ บาท แต่ค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๕,๕๑๖.๘๕ บาท ส่วนที่ขาด๙๙๕ บาทนั้นเป็นงบจากกระทรวงศึกษาธิการ | |
๒๘ มิ.ย. ๒๔๗๖ | – เวลา ๑๔.๑๐ น. นางพวง สุวรรณกิจชำนาญ เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีรองอำมาตย์เอกหลวงสิทธิวุฒิ เป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่จากกระทรวงศึกษาธิการมาร่วมพิธี – มีชั้นเรียนมัธยมปีที่ ๗ |
|
๓๐ ม.ค. ๒๔๗๗ | นายฉาย เกลี้ยงเกลา (เปลี่ยนนามสกุลใหม่ เป็น วิโรจน์ศิริ) | |
๗ ธ.ค. ๒๔๗๗ | โรงอาหาร บ้านพักภารโรง และห้องสุขาหลังเก่าได้จัดสร้างเสร็จ สิ้นเงิน ๑,๐๐๐ บาท | |
พ.ศ. ๒๔๘๐ | – เพิ่มค่าเล่าเรียนชั้นมัธยมปลายเป็นปีละ ๓๐บาท – ยุบชั้นประถมปีที่ ๓ เหลือแต่ประถมปีที่ ๔ – ขยายชั้นเรียนถึงชั้นมัธยมปีที่ ๕ |
|
|
||
พ.ศ. ๒๔๘๒ | – เพิ่มชั้นมัธยมปีที่ ๖ – ยุบเลิกชั้นประถม – เก็บเงินค่าบำรุงการศึกษา แยกเป็นเงินบำรุงกีฬาและห้องสมุด ปีละ๑ บาท |
|
พ.ศ. ๒๔๘๓ | – เก็บเงินค่าบำรุงการศึกษาเพิ่มปีละ ๒ บาท | |
๒ มิ.ย. ๒๔๘๔ | – นายอ๊าท (เปลี่ยนชื่อ – สกุลใหม่เป็น นายผ่อน คลาดโรค) | |
๘ มิ.ย. ๒๔๘๖ | – นายภักดิ์ ฉวีสุข | |
๓ พ.ย. ๒๔๘๘ | – นายนาถ กระต่ายทอง รักษาการแทรครูใหญ่ เนื่องจาก นายนายภักดิ์ ฉวีสุข ลาป่วยและได้ลาออกจากราชการในเวลาต่อมา | |
๒ ก.ย. ๒๔๘๙ | – นายแวว วิลพยัคฆ์ | |
พ.ศ. ๒๔๙๐ | – เพิ่มค่าบำรุงการศึกษา ม. ต้นปีละ ๖ บาท | |
๒๕ ก.ย. ๒๔๙๑ | – นายกนก มาณะวิท ได้ขยายโรงอาหารให้กว้างขึ้นกว่าเดิม | |
๑ เม.ย. ๒๔๙๖ | นายสุวัฒน์ กาญจนะวสิต | |
พ.ศ. ๒๔๙๗ | – เริ่มสอนผลัดบ่าย และปรับปรุงพื้นโรงอาหาร | |
พ.ศ. ๒๔๙๘ | – จัดตั้งสมาคมนักเรียนเก่าของโรงเรียน | |
๒๕ ส.ค. ๒๔๙๙ | – สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นผู้เจิมป้ายในพิธีเปิดป้ายสมาคมมี พลตรีเต็มหอมเศรษฐี เป็นนายกสมาคม และนาวีตรีจงกล ชูรัตน์ ร.น. เป็นเลขาธิการ | |
พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๐๐ | – ปรับปรุงห้องสมุด และบริเวณโดยรอบโรงเรียน | |
๓ ส.ค. ๒๕๐๗ | – นายอุดม ติรณะรัต ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ ได้เริ่มโครงการสร้างตึกศรียาภัย | |
๓ ก.ค. ๒๕๑๐ | – นายสันทัด เมี้ยนกำเนิด เป็นอาจารย์ใหญ่ได้ดำเนินการก่อสร้างตึกศรียาภัย เป็นตึก ๔ ชั้นลงบนพื้นที่เดิมแทนเรือนศรียาภัยที่เก่าแก่มากแล้ว สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑๐มิถุนายน ๒๕๑๑ ใช้เงินงบประมาณ ๑ ล้านแปดแสนบาท และเงินบำรุงการศึกษา ๓ แสนบาท | |
๑๐ มิ.ย. ๒๕๑๔ | – นายชาลี ถาวรานุรักษ์ (รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สวช.) เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้ขออนุญาต พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพระพุฒาวา จารย์)เจ้าอาวาสวัดสระเกศขยายพื้นที่โรงเรียนออกไปอีก ๔๐ ตารางเพื่อสร้างเป็นที่พักของนักการภารโรงจำนวน ๖ ครอบครัว | |
๑๒ ธ.ค. ๒๕๑๕ | – นาย ช. เศวต เพ็ชญไพศิษฏ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ได้เสนองบประมาณปรับปรุงเรือนพงศ์พวงอุทิศและเรือนประพฤทธิ์ ของ มจ. ประพฤทธิ์ถึงประวัติการสร้างเรือนธรรมประพฤทธิ์มาก่อนว่าสร้างมาแต่ พ.ศ.ใด แต่เดิมใช้เป็นโรงเรียนสอนนักของวัด |